วิสัยทัศน์ / พันธกิจ

วิสัยทัศน์

"เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 400 เตียงที่มีคุณภาพ พัฒนาสู่ความเป็นเลิศ ด้านบริการสุขภาพแบบองค์รวม ภายในปี 2568"

ค่านิยม (Values)

S   Smart ใฝ่เรียนรู้อยู่เสมอ

I   Intelligence ฉลาดคิด ทำงานอย่างเป็นระบบ

C   Compassion จิตใจดี มีเมตตา ดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

H   Hospitality มีน้ำใจช่วยเหลือทุกคน ดูแลแบบองค์รวม

O   Opportunity หาโอกาสพัฒนางานประจำ

N   Network ทำงานเป็นทีม สร้างเครือข่ายการทำงานกับชุมชน

พันธกิจ (Mission)

1. ให้บริการสุขภาพแบบองค์รวม มุ่งเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
2. สนับสนุนและประสานงานอย่างเป็นเอกภาพกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน
3. ส่งเสริมและพัฒนาวิชาการ สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
4. เป็นองค์กรนำด้านสร้างเสริมสุขภาพ
5. รับส่งต่อผู้ป่วยในเครือข่ายและนอกอำเภอ

ปรัชญา

"มุ่งมั่นบริการ พัฒนางานอย่างเป็นระบบ"

แผนยุทธศาสตร์โรงพยาบาลสิชล

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกแก่ประชาชนในพื้นที่
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนระบบบริการให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบบริหารจัดการบุคลากรด้านสาธารณสุข

เข็มมุ่ง 4 ด้าน

PCT

  :: Emerging Infectious Disease

  :: Fast Tracts

ENV

  :: GREEN & CLEAN

  :: Environment, Modernization and Smart Service

IT

  :: Digital transformation

  :: Smart Hospital

RM

  :: 3P safety goals

  :: NRLS

ทิศทางการพัฒนา


นโยบายเรื่องระบบการรักษาพยาบาล โรงพยาบาลสิชล

      1. โรงพยาบาลจัดระบบการรักษาพยาบาลมุ่งเน้น ให้ประชาชนมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ และเชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุลทั้งทางจิตวิญญาณ ทางสังคม ทางกายและทางจิต โดยดูแลทั้งในระดับปฐมภูมิและบางส่วนของทุติยภูมิ

      2. โรงพยาบาลจะจัดให้บริการสุขภาพอย่างเสมอภาค เน้นการบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพ เป็นบริการที่มีน้ำใจ และเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้มารับบริการ โดยผู้รับบริการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการรักษาพยาบาล หรือกระบวนการที่มีผลกระทบต่อร่างกายและชีวิต

      3. โรงพยาบาลจะตอบสนองต่อนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อให้ประชาชนได้รับสิทธิในการมีสุขภาพดี ไม่มีการเลือกปฏิบัติทั้งในเรื่องของการรักษาพยาบาล และการสร้างสุขภาพ การควบคุมป้อกันโรค การได้รับการคุ้มครองในฐานะผู้บริโภค

      4. โรงพยาบาลจะมีระบบควบคุมคุณภาพที่สร้างความมั่นใจให้กับประชาชนได้ว่าระบบบริการสุขภาพได้มาตรฐานมีประสิทธิภาพ และมีการประเมินและรับรองคุณภาพจากองค์กรภายนอก

      5. โรงพยาบาลจุมีการร่วมพัฒนาด้านสุขภาพกับประชาชนในท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง

      6. โรงพยาบาลจะจัดให้มีการสนับสนุนด้านวิชาการ เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถด้านวิชาชีพให้แก่เจ้าหน้าที่

      7. โรงพยาบาลจะจัดให้มีการให้ความรู้ และข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพแก่ประชาชนเพื่อเพิ่มความเข้าใจ การดูแลสุขภาพของตนเอง

      8. โรงพยาบาลจะมุ่งเน้นระบบการทำงานในโรงพยาบาลที่มี

        8.1 การทำงานเป็นทีม

        8.2 การมีมาตรฐานในการทำงานและการตรวจสอบมาตรฐานด้วนตนเอง

        8.3 การสื่อสารที่ดีภายในทีมบริการสุขภาพ เพื่อผลประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นหลัก

        8.4 การมีกิจกรรมพัฒนาคุณภาพในทุกหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง

      9. ระบบเวชระเบียนจะต้องถูกต้อง ครบถ้วนและสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้

      10. โรงพยาบาลจะจัดหาเครื่องมือเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ โดยความเหมาะสมกับความจำเป็นตามหลักวิชาการแพทย์ และใช้แก้ไขปัญหาด้านสุขภาพที่มีอยู่จริงในท้องถิ่นได้

      11. โรงพยาบาลจะจัดให้มีการดูแลการใช้ยา และเวชภัณฑ์ ตามความจำเป็นและเหมาะสม มีการประกันคุณภาพยาที่มีใช้ในโรงพยาบาล

      12. โรงพยาบาลจะจัดให้มีการดูแลเรื่องความปลอดภัยด้านร่างกาย จิตใจแก่ผู้รับบริการและผู้ปฏิบัติงานโดยจัดระบบป้องกันความเสี่ยง

      13. โรงพยาบาลจะมีการตรวจสอบการทำงานโดยรับฟังเสียงสะท้อนปัญหาจากผู้มารับบริการ ความผิดพลาดต่าง ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงระบบการทำงาน

ค่านิยม MOPH


ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน 2564


ข้อบังคับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยจรรยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560


จรรยาบรรณกระทรวงสาธารณสุข (MOPH Code of Conduct)


หน้าที่และอำนาจของหน่วยงาน ตามกฎหมายจัดตั้งหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง


ยุทธศาสตร์ชาติ


พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562


พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562


ข้อกำหนดจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2564


คณะกรรมการจริยธรรม ประจำสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข